วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุกข์ของชาวนา


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์
ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41
พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต
และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก
                                                            "เปิบข้าวทุกคราวคำ                     จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน"
เรื่องย่อ          เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า  มิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย
เนื้อเรื่อง
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
               เมื่อครั้งเป็นนิสิต  ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร  ภูมิศักดิ์  อยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด  หรือวิเคราะห์อะไร  เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึกซึ้งถี่ถ้วน  ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน  ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน  ฟังติดหูมาจนถึงวันนี้
                                                            เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน
        

เทศน์มหาชาติ13กัณฑ์


การเทศน์มหาชาติได้กำหนดเอาเรื่องราวของพระเวสสันดรโดยมี
เนื้อหากัณฑ์เทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์โดยย่อมาเล่าแบบเบา ๆ บ้าน ๆ มีดังนี้
1.กัณฑ์ทศพร ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าหวนกลับบ้านเกิดเมืองนอนคือเมืองกบิลพัสดุ์ อยู่วัดต้นไทรย้อย ได้แสดงฤทธิ์แก่มวลญาติเกิดฝนตกลงมาห่าใหญ่ พระสาวกเห็นเป็นอัศจรรย์ได้ถามและพระองค์ก็เล่านิทานเมื่อครั้งเกิดเป็นพระเวสสันดร
2. กัณฑ์หิมพานต์  ว่าด้วยเรื่องเทพธิดาลงมาเกิดเป็นลูกกษัตริย์มัทราชได้ชื่อว่า ผุสดี พออายุ 16 ปีได้แต่งงานกับพระเจ้ากรุงสญชัยเมืองสีพี เกิดมีครรภ์พอครบ 10 เดือนพระนางผุสดีก็คลอดพระโพธิสัตว์นามว่าพระเวสสันดร มีช้างคู่บารมีชื่อปัจจัยนาเคน พออายุ 16 ปีก็แต่งงานกับพระนางมัทรี มีลูกน้อยชื่อชาลีและกัณหา
    ต่อมาเมืองกลิงคะเกิดข้าวยากหมากแพง ชาวเมืองมาขอช้างจากพระเวสสันดร  พระองค์ให้ทานช้าง  ทำให้ชาวเมืองไม่พอใจไปขอพระเจ้ากรุงสณชัยให้เนรเทศพระเวสสันดรไปเขาวงกต
3. กัณฑ์ทานกัณฑ์  ว่าด้วยเรื่องพระมารดาร้องขออภัยโทษพระเวสสันดรแต่ผิดหวัง  พระเวสสันดรให้ทานใหญ่แล้วขออำลาไป
4. กัณฑ์วนปเวสน์  ว่าด้วยเรื่อง 4 กษัตริย์เดินดงไปเขาวงกต แคว้นเจตราช พระเจ้าเจตราชสั่งให้พรานเจตบุตรรักษาด่านไว้ไม่ให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร
5 . กัณฑ์ชูชก  ว่าด้วยเรื่องเฒ่าชูชกขอทานได้เอาไปฝากเพื่อน  พอมาทวงคืนเพื่อนได้ใช้เงินหมดแล้วเลยยกลูกสาวชื่ออมิตตดา  ต่อมานางให้ชูชกไปขอชาลีกัณหาเพื่อเอามาเป็นทาสรับใช้
6 . กัณฑ์จุลพน ว่าด้วยเรื่องป่าน้อยชูชกไปเจอพรานเจตบุตรลวงให้เชื่อว่านำสารของพระเจ้ากรุงสณชัยมาส่งให้พระเวสสันดรเพื่อกลับคืนพระนครและพรานป่าก็เชื่อด้วยนะ
7 . กัณฑ์มหาพน  ว่าด้วยเรื่องป่าใหญ่ ที่ชูชกไปพบพระอจุตฤาษีลวงว่าเป็นนักบวชจะมาคุยธรรมะกับพระเวสสันดร พระฤาษีก็หลงเชื่อให้ที่พักค้างคืนซ้ำบอกแนะนำเส้นทาง ไปเขาวงกตด้วย
8 . กัณฑ์กุมาร  ว่าด้วยเรื่อง ชูชกไปถึงที่อยู่พระเวสสันดรช่วงพระนางมัทรีไปป่าหาผลไม้ก็รีบไปขอสองลูกน้อย ทั้งชาลีและกัณหาได้ยินพากันหนีลงไปในสระบัวบังกายไว้ พระองค์ไปเรียกหาเอามายกให้ชูชก
9 . กัณฑ์มัทรี  ว่าด้วยเรื่อง พระอินทร์สั่งให้เทวดาแปลงกายมาเป็น 3 เสือขวางทางไม่ให้พระนางมัทรีกลับมาทันเหตุการณ์การยกลูกให้เป็นทาน เมื่อกลับมาถึงหาลูกน้อยไม่พบ พระเวสสันดรก็ไม่ตอบ  พระนางเป็นลมสลบเมื่อฟื้นขึ้นมาพระเวสสันดรเลยบอกความจริง
10 . กัณฑ์สักกบรรพ ว่าด้วยเรื่องพระอินทร์แปลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี เมื่อพระเวสสันดรยกให้แล้วก็ฝากไว้ให้รับใช้พระเวสสันดรตามเดิมแล้วปรากฏตนเป็นพระอินทร์
11 . กัณฑ์มหาราช  ว่าด้วยเรื่องชูชกพาชาลีกัณหาเดินดงหลงเข้าไปกรุงสีพีเพราะเทวดาดลใจ พระเจ้าปู่เลยไถ่เอาหลานไว้ พร้อมเลี้ยงดูชูชก แกกินมากจนท้องแตกตาย ฝ่ายพระเจ้ากรุงสญชัยได้จัดกองทัพไปอัญเชิญพระเวสสันดรกลับคืนวังและชาวเมืองกลิงคะก็คืนช้างคู่บารมีพอดี
12 . กัณฑ์ฉกษัตริย์  ว่าด้วยเรื่อง 6 กษัตริย์มาพบกันเกิดสลบไปทั้งหมด  ร้อนถึงพระอินทร์รู้เหตุเลยบันดาลให้ฝนตกใหญ่ ( ฝนโบกขรพรรษ ) เมื่อทั้งหมดฟื้นคืนชีพแล้วได้ขออภัยต่อพระเวสสันดรและเชิญเข้าไปปกครองกรุงสีพี
13 . กัณฑ์นครกัณฑ์  ว่าด้วยเรื่องผลแห่งทาน  ผลแห่งศีล  และผลแห่งพระบารมี 30 ทัศ ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ เมื่อกลับมาถึงกรุงสีพีแล้วบังเกิดฝนใหญ่ตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นร่มเย็นแก่ชาวเมืองสีพี
พระเวสสันดรครองนครสีพีจนอายุ 120 ปีจึงสวรรคต ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่าสันตุสิต อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตก่อนที่จะมาเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมารนั้นแล.

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/422864

คำศัพท์


คำศัพท์
ครึ
เก่า ล้าสมัย
โช
Show อวดให้ดู
เทวดาถอดรุป
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบขะเล่อร์
Bachelor ชายโสด
ปอปูลาร์
Popular ได้รับความนิยม
พิสดาร
ละเอียดลออ กว้างขวาง
พื้นเสีย
อารมณ์เสีย หมายถึง โกรธ
ไพร่ๆ
คนสามัญ ชาวบ้าน
เรี่ยม
สะอาดหมดจด เอี่ยมอ่อง วิเศษ ดีเยี่ยม
ลอยนวล
ตามสบายไม่มีผู้ใด ขัดขวางจับกุม
สิ้นพูด
หมดคำพูดที่จะกล่าว
หมอบราบ
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า
คาดว่า
หลวง
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนนางและต่ำกว่าพระ
หัวนอก
คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง
ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง
ค่อนข้าง
อินเตอเรสต์
Interest ความสนใจ
เอดูเคชั่น
Education การศึกษา
ฮันนี่มูน
Honrymoon การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่